ปลาดุกรัสเซียหรือที่นิยมเรียกในระยะแรก ว่า ปลาดุกยักษ์
ปลาดุกรัสเซียหรือที่นิยมเรียกในระยะแรก ว่า ปลาดุกยักษ์
ข่าว การนำเอาปลาดุกยักษ์ ปลาดุกรัสเซียหรือที่นิยมเรียกในระยะแรก ว่า ปลาดุกยักษ์โซเวียต เข้ามาในประเทศไทยในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 นั้น เป็นปลาดุกชนิดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศลาวหลายปีมา แล้ว ได้มี การเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานีและอุบลราชธานี ปลาดุกยักษ์นี้ประเทศสหภาพโซเวียตได้นำไป เผยแพร่ในประเทศอินโดจีนทั้งสามประเทศเป็นเวลานานแล้ ว เนื่องด้วย เป็นปลาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหลายประการคือ เลี้ยงง่าย กินอาหารได้ทั้ง อาหารพืชและอาหารสัตว์ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ขนาดลำตัวโต เนื้อมากและ เนื้อนุ่ม อร่อยมีรสมันกว่าปลาดุกไทยอีกสองชนิดคือ ปลาดุกอุยและปลา- ดุกด้าน ความนิยมเลี้ยงจึงแพร่ออกไปในหมู่คนไทยอย่างรวดเร็ว ราคา ขายลูกปลาดุกยักษ์ขนาดลำตัวยาว 5 เซนติเมตร อายุ 3 เดือน ราคาตัวละถึง 100 บาท
ปลาดุกยักษ์ซึ่งน่าจะเรียกว่า ปลาดุกยักษ์แอฟริกา เนื่องจากมีถิ่น กำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus จัดอยู่ ในวงศ์ Clariidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาดุกอุยและปลาดุกด้านของ ประเทศไทย ปลาดุกชนิดนี้เป็นปลาดุกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนี ้ เคยมี รายงานว่า ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวลำตัวถึง 1.17 เมตร ตัวผู้มีขนาด ลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ 10-25 กิโลกรัม
ปลาดุกยักษ์ที่เลี้ยงในประเทศไทย ตัวใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่า ปลาดุกไทยมาก อายุเพียง 5 เดือน จะมีน้ำหนักตัว 800-1,000 กรัม เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนัก 10-15 กิโลกรัม ส่วนหัวมีลักษณะแบน มีรอยหยัก ตรง ท้ายทอยคล้ายกับปลาดุกด้าน 3 รอย แต่หยักลึกและมีขนาดใหญ่กว่า ด้านบนระหว่างตาทั้งสองมีรอยบุ๋มลึกเป็นทาง ลำตัวด้านบนสีเทาอมดำ มีลายหินอ่อนสีน้ำตาลกระจายไปทั่ว ถ้าหากเลี้ยงไว้ในที่ร่ม ลำตัวจะมีสี ออกเหลือง ใต้ท้องสีขาว หางมีขนาดใหญ่และหนาดูคล้ายกับหางปลาช่อน ตรงโคนหางจะมีแถบสีขาวพาดขวาง ส่วนปากมีสีชมพู มีหนวดจำนวน 8 เส้นเช่นเดียวกับปลาดุกไทย แต่หนวดจะหนาใหญ่และยาวกว่า ลักษณะ ของเงี่ยง ที่ครีบหูเรียบตรงโคนไม่มีตุ่มหยาบเหมือนเงี่ยงปลาดุ กไทย และปลายเงี่ยงจะติดอยู่กับครีบไม่แยกออกตอนปลายและมี ปลายแหลม อย่างปลาดุกไทย ปลาตัวผู้ที่โตเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมีขลิบสี แดง ที่บนครีบ ส่วนลูกปลาดุกยักษ์จะคล้ายกับลูกปลาดุกด้าน แต่มีลำตัวขนาด ใหญ่กว่าและอ้วนกว่า สีลำตัวออกสีเขียว มีจุดขาวประบนลำตัว ครีบหลัง บริเวณของเงี่ยงและหนวดสีชมพูอ่อน
ปลาทุกชนิดในวงศ์นี้จะมี อวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ภายในช่องเหงือก ทำให้สามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศ บนผิวน้ำ
ปลาดุกยักษ์กินอาหารง่าย อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ ขี้ไก่ ไส้ไก่ ปลวก แมลงเม่า ผักบุ้งและผักตบชวา เคลื่อนไหวได้ช้า จึงทำให้เติบโตเร็ว เพราะเสีย พลังงานไปในการเคลื่อนที่น้อยกว่าปลาดุกไทยขณะที่ยัง เล็ก เมื่อหิวจัดจะ กัดกินกันเอง
ในสภาพธรรมชาติปลาดุกยักษ์ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง มากกว่าใน น้ำไหล น้ำมีสภาพเป็นกรดด่าง 8.3 อุณหภูมิของน้ำตั้งแต่ 18-28 ํเซลเซียส ปลาดุกยักษ์กินสัตว์และพืชเป็นอาหารตั้งแต่แพลงก์ตอน สัตว์ จนถึงปลา ขนาดความยาวลำตัวครึ่งหนึ่งของตัวเอง แม้แต่ลูกปลาชนิดเดียวกัน จากการ ศึกษาอาหารของปลาดุกยักษ์ในทวีปแอฟริกา พบว่าปลาดุกยักษ์กินปลาถึง ครึ่งหนึ่งของจำนวนอาหารที่พบในกระเพาะ นอกนั้นเป็นพวกลูกกุ้ง แมลงน้ำ หอยน้ำจืด และเศษพืฃอื่นๆ เวลาพบเหยื่อจะเข้าโจมตีอย่างฉับพลันไม่ใช้การ ไล่ล่า บางครั้งพบว่าปลาดุกยักษ์จะออกหากินเป็นกลุ่มโดยการว ่ายน้ำแผ่ กว้างไปตามแนวนอน จับลูกปลาหมอเทศที่อยู่เป็นฝูงๆ กินเป็นอาหาร ชอบ คุ้ยหาอาหารกินตามท้องน้ำไม่ว่าพื้นท้องน้ำจะเป็นโคล น ทรายหรือก้อนหิน
ฤดู ผสมพันธุ์ตกอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนมีนาคม ปกติจะ ผสมพันธุ์หลังจากฝนตกหนัก โดยการแยกออกหาที่ผสมพันธุ์เป็นคู่ๆ ปลาตัวผู้จะเข้าไปเตรียมที่วางไข่บริเวณทุ่งหญ้าน้ำท ่วม ฝังก่อน แล้วจึงต้อน ปลาตัวเมียเข้าไป เมื่อถึงบริเวณที่เหมาะสมซึ่งมีระดับน้ำลึก 5-30 เซนติเมตรก็จะเริ่มการวางไข่โดยตัวผู้จะใช้ลำตัวรัดต ัวเมียบริเวณส่วนหัวกิน เวลา นาน 12-20 วินาที ไข่และน้ำเชื้อจะออกมาผสมกันจากนั้นจะหยุดพัก สักครู่หนึ่ง ก่อนจะวางไข่อีกครั้งแล้วจึงแยกจากกัน ปลาที่โตเต็มที่อาจจะ วางไข่ได้ถึง 150,000 ฟอง
ในบ่อเลี้ยงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาดุกตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียเพื่อวาง ไข่และผสม ไข่ปลาดุกยักษ์มีสีเขียวคล้ายสีตะไคร่น้ำ ต่างจากไข่ปลาดุกอุย ที่มีสีเหลืองอ่อน เมื่อวางไข่แล้วปลาดุกตัวเมียจะไล่กัดปลาตัวผู้ ไข่จะฟัก เป็นตัวในเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นอีก 3 วัน ลูกปลาจึงจะเริ่มกินอาหาร จำพวกไข่แดงต้ม พออายุได้ 8 วัน จึงเริ่มให้อาหารประเภทไรน้ำและอาหาร เม็ดแช่น้ำให้ยุ่ย
เนื่องจากเป็นปลาชนิดที่เลี้ยงง่าย เติบโตเร็วกว่าปลาดุกไทย 2-3 เท่า สามารถใช้วัสดุเหลือทิ้ง เช่น มูลสัตว์ ไส้ไก่ และวัชพืชต่างๆ เป็น อาหารได้ดี เนื้อมีมากและมีสภาพเหมาะในการประกอบอาหารได้หลาย อย่าง จึงนับว่าเป็นปลาที่มีศักยภาพสูงในทางเศรษฐกิจ เหมาะสมกับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่แห้งแล้ง ขาดแคลนอาหารโปรตีนธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน อีกทั้งทนทานต่อสภาพน้ำเน่าเสียได้ดี
ถึงแม้ว่า ตามกฎหมายจะถือว่าปลาดุกยักษ์เป็นปลาที่นำเข้ามา ในประเทศอย่างผิดกฏหมายก็ตาม แต่ควรจะต้องยอมรับว่าเป็นปลาที่ควร จะได้รับการพัฒนาเพื่อบำบัดความหิวโหยของประชากรในบา งส่วนของ ประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูก เป็นอาหารในชนบทที่เลี้ยงง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อยและต้องการการดูแลไม่มากนัก
อนึ่ง ในแง่ผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาตินั้น เนื่องจาก ปลาดุกยักษ์เป็นปลาที่มีนิสัยตะกละกินได้ไม่เลือก จึงอาจจะมีอันตรายต่อ ปลาและสัตว์เลี้ยงพื้นเมืองเมื่อออกไปอาศัยอยู่ในแหล ่งน้ำธรรมชาติ ทาง กรมประมงได้ทำการทดลองผสมข้ามระหว่างปลาดุกยักษ์กับป ลาดุกอุย และ ปลาดุกด้าน ผลปรากฏว่า ถ้าใช้พ่อปลาดุกยักษ์ผสมกับแม่ปลาดุกอุย จะได้ ลูกที่โตเร็วและแข็งแรงกว่า แต่ยังไม่อาจผสมกับปลาดุกด้านได้ในขณะนี้ จึงสรุปว่าปลาดุกยักษ์เป็นปลาที่มีประโยชน์ทางเศรษฐก ิจ แต่ควรจะเลี้ยงไว้ ในฟาร์มมากกว่าจะปล่อยให้ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปลาค้าวใหญ่วางไข่ผสมพันธุ์ หาดูยากมากๆ
loading...
Post a Comment